เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: ช.ช้างมหัศจรรย์
Understanding Goal (เป้าหมายของความเข้าใจ) :
นักเรียนเข้าใจชีวิต และสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตการกิน การอยู่ การดูแลรักษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รู้จักวิธีการดูแลตนเองเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง ครอบครัวและผู้อื่น เกิดการเคารพสิทธ์และเห็นคุณค่าความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัว


วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Mind Mapping (เนื้อหา/ครู)



Big Question (คำถามหลัก) : นักเรียนคิดว่าสิ่งต่างๆบนโลกจะอยู่ร่วมอย่างเกื้อกูลกันได้อย่างไร?

ภูมิหลังของปัญหา : ในสถานการณ์ปัจจุบัน ช้างถูกลดบทบาทและความสำคัญลงอย่างมาก ไร้การเหลียวแลเอาใจใส่ ช้างจำนวนไม่น้อยถูกนำเข้ามาหากินในเมืองใหญ่ มีสภาพไม่ต่าง จากขอทาน เร่ร่อน ซึ่งเป็นการผิดกฎหมาย ช้างหลายเชือกต้องประสบเคราะห์กรรมต่างๆ นานา ถูกรถชน ตกท่อ ตกบ่อ ถูกไฟดูด บางเชือกเกิดความเครียดจากสภาพแวดล้อมในเมือง ทำให้อาละวาดทำร้ายผู้คน  ถูกฆ่าเพื่อเอางาไปขายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนเป็นปัญหาลุกลาม  ไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่ของช้างไม่เหมาะสม อาหารการกินของช้างลดน้อยไม่เพียงพอ และที่สำคัญคือช้างอยู่ในที่...ที่ไม่ควรอยู่ ช้างควรจะอยู่ในป่าในธรรมชาติไม่ใช่อยู่ในเมือง ก็เหมือนดังเช่นมนุษย์เราในช่วงวัยเด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่และครอบครัว แต่สังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทั้งเรื่องการกิน การอยู่ ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และก่อให้เกิดปัญหาด้านพัฒนาการที่ช้ากว่าวัย เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและที่สำคัญเด็กขาดการเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตนเอง ดังนั้นช่วงวัยเด็ก เป็นวัยที่สำคัญต่อพัฒนาการทุกๆด้าน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข

ปฏิทินการเรียนรู้
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
สิ่งที่รู้แล้ว  สิ่งที่อยากเรียนรู้
เอกสาร Quarter 1


ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์มาตรฐานการเรียนรู้กับพัฒนาการ
หน่วยช.ช้างมหัศจรรย์ ระดับชั้นอนุบาลประจำ Quarter 1  ปีการศึกษา  1/2557
สาระการเรียนรู้
พัฒนาการ
มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้
สาระ
1.สร้างฉันทะ สร้างแรงบันดาลใจ เผชิญกับปัญหา
  - เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
  - ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
 - สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
2.โครงสร้าง/หน้าที่ของร่างกาย
   - อวัยวะภายนอก
   - หน้าที่อวัยวะภายนอก
   - รูปร่างลักษณะ
3.ประเภท /สายพันธุ์
4.การดูแลร่างกาย
    - การทำความสะอาดร่างกาย
    - การออกกำลังกาย
    -  อาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
    -  การพักผ่อน / นอนหลับ
5.วงจรชีวิต / การเจริญเติบโต
6.ความสัมพันธ์ของคนกับช้างและสิ่งมีชีวิตอื่น
7.การสรุปองค์ความรู้
ด้านร่างกาย
    ผู้เรียนมีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็กในการเคลื่อนไหวร่างกาย  ประดิษฐ์ชิ้นงาน  ได้แก่  
ขีดเขียน  วาดภาพบุคคลระบายสีไม้สีเทียนเล่นกับสีน้ำ   เช่น เป่าสี  พับสีปั้นดินน้ำมันฉีก- ปะ กระดาษเป็นรูปครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่นต่อเติมภาพตามจินตนาการประดิษฐ์สิ่งมีชีวิตจากเศษวัสดุต่างๆประกอบอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกาย การแสดงบทบาทสมมติ/จินตนาการผ่านท่าทางและสีหน้า

พัฒนาการทางด้านร่างกาย
มาตรฐานที่ 1  ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 มีสุขภาพอนามัย  สุขนิสัยที่ดี  และรู้จักรักษาความปลอดภัย
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่วและทรงตัวได้
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เล่นและออกกำลังกาย
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3  .ใช้มือได้อย่างคล่องแล้วและประสานสัมพันธ์กัน
ด้านอารมณ์และจิตใจ
     ผู้เรียนมีวินัย  ความรับผิดชอบ  ปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกัน  ทำงานจนสำเร็จ  และแสดงความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง  ได้แก่  การShow and Shareผลงานในแต่ละสัปดาห์  การทำใบงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด  การเก็บของใช้เข้าที่หลังจากทำใบงานหรือประดิษฐ์ชิ้นงาน
 -  ผู้เรียนช่วยเหลืองานเต็มความสามารถด้วยความ
เต็มใจ  เช่น  การจัดเก็บอุปกรณ์ เก็บกวาดห้องเรียน อาสาแจกใบงาน/อุปกรณ์ให้เพื่อน
 -  ผู้เรียนมีมารยาทและปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย ได้แก่  มีมารยาทในการพูดเมื่อต้องการพูดจะยกมือก่อนพูดทุกครั้ง 
สนใจฟังเมื่อมีผู้อื่นพูด  มีมารยาทในการรับประทานอาหาร  ไหว้ขอบคุณเมื่อรับสิ่งของจากผู้อื่นทุกครั้ง
-  ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดด้วยการนำเศษวัสดุจากการประดิษฐ์ชิ้นงานทิ้งลงถังขยะอย่างถูกที่
    -  ผู้เรียนมีความสนใจงานด้านศิลปะโดยเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอย่างมีความสุข ได้แก่  การสร้างงานศิลปะด้วยความเต็มใจ  การแสดงความชื่นชมและภาคภูมิใจในผลงานศิลปะ

พัฒนาการทางด้านอารมณ์  จิตใจ
มาตรฐานที่ 3  มีสุขภาพจิตดี  และมีความสุข
ตัวบ่งชี้ที่  3.1  แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
ตัวบ่งชี้ที่  3.2  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่  3.3  มีความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น
มาตรฐานที่  4  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่  4.1  สนใจและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี  และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่  4.2  แสดงออกทางด้านศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
มาตรฐานที่  5  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีจิตใจที่ดีงาม
ตัวบ่งชี้ที่  5.1  มีความรับผิดชอบ
ตัวบ่งชี้ที่  5.2  ซื่อสัตย์สุจริตและรู้ถูกรู้ผิด
ตัวบ่งชี้ที่  5.3  มีความเมตตากรุณา  มีน้ำใจและ
ช่วยเหลือแบ่งปัน
ตัวบ่งชี้ที่  5.4  ประหยัด อดออม  และพอเพียง
ด้านสังคม
    - ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม  เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข 
   -  ผู้เรียนยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
   -  ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  
   -  ผู้เรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อครู  เพื่อนและผู้อื่น

พัฒนาการด้านสังคม 
มาตรฐานที่  6  มีทักษะในการดำเนินชีวิต
ตัวบ่งชี้ที่  6.1  มีวินัยในตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่  6.2  ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ตัวบ่งชี้ที่  6.3  ระหวังภัยจากคนแปลกหน้าและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย
มาตรฐานที่ที่  7  รักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
ตัวบ่งชี้ที่  7.1  ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่  7.2  มีสัมมาคารวะและมารยาทตามวัฒนธรรมไทย
ตัวบ่งชี้ที่  7.3  รักความเป็นไทย
มาตรฐานที่  8  อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตัวบ่งชี้ที่  8.1  ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล
ตัวบ่งชี้ที่  8.2  มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่  8.3  ปฏิบัติตนเบื้องในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ด้านสติปัญญา
    -  ผู้เรียนสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากการฟังนิทานหรือเรื่องราวได้
    -  ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผลและมีความสนใจใฝ่รู้
    -  ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดเรื่องราว
เกี่ยวกับครอบครัว และสิ่งมีชีวิตอื่นจากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นให้ผู้อื่นเข้าใจได้
    -  ผู้เรียนสนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวกับผู้อื่นได้
    -  ผู้เรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง
    - ผู้เรียนสามารถนับ ตัก ตวงเครื่องปรุงอย่างง่ายๆในการประกอบอาหารได้

พัฒนาการด้านสติปัญญา    
มาตรฐานที่  9  ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่  9.1  สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ
ตัวบ่งชี้ที่  9.2  อ่าน  เขียนภาพ และสัญลักษณ์ได้
มาจรฐานที่  10  มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่  10.1  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ตัวบ่งชี้ที่  10.2  มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล
ตัวบ่งชี้ที่  10.3  มีความสามารถในการคิดรวบยอด
มาตรฐานที่  11  มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ตัวบ่งชี้ที่  11.1  เล่น / ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่  11.2  แสดงท่าทาง / เคลื่อนไหวตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
มาตรฐานที่  12  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้  และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่  12.1  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่  12.2  มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ 




 Web เชื่อมโยงหน่วย “ ช.ช้างมหัศจรรย์ ” กับ 4 สาระพื้นฐาน

ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
ภาษาอังกฤษ
วิทยาศาสตร์
การฟัง
-  ฟังนิทาน
-  ฟังเพลงและเคลื่อนไหวทำท่าทางประกอบ
-  ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง/ข้อตกลง
-  ฟังและตอบคำถาม
-  การเป็นผู้ฟังที่ดี
-  การฟังและจำแนกเสียง  เช่น  เสียงสัตว์
การพูด 
-  บอกความต้องการ/ความรู้สึก
-  สนทนาถาม-ตอบ
-  อธิบายสิ่งที่เข้าใจ
-  ร้องเพลง  คำคล้องจอง
-  แนะนำ/บอกชื่อของสิ่งต่างๆ
-  เล่าหรือถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์ที่ได้ฟัง  ได้เห็น  หรือประสบจริง
-  แต่งประโยคจำคำ / ภาพ
-  เล่าเรื่องตามภาพ
การอ่าน
- อ่านตามภาพ
-  อ่านท่าที  ท่าทาง  สีหน้า  ลักษณะต่างๆ
-  การอ่านคำตามภาพ / สัญลักษณ์
-  อ่านตามตัวอย่าง
-  การสะกดคำง่ายๆ  เช่น   แม่ ก กา
การเขียน
-  เขียนตามตัวอย่าง
-  เขียนตามจินตนาการ
-  การเขียนชื่อตนเอง ฯลฯ
การสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ
-  การจำแนกความเหมือนความต่าง  มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ
-  การจัดหมวดหมู่ เช่น รูปร่าง รูปทรง ขนาด สี น้ำหนัก
-  การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
ด้านตัวเลขและจำนวน
-  การนับจำนวน  ลำดับจำนวน  สัญลักษณ์แทนจำนวน
-  การรู้ค่าจำนวน
-  การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน
ด้านมิติสัมพันธ์
-  เข้าใจตำแหน่งที่สัมพันธ์กัน
-  เข้าใจระยะ เช่น ใกล้ ไกล ตรงข้าม ระหว่าง
-  การเข้าใจทิศทาง เช่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-  การต่อชิ้นส่วนภาพ
ทักษะทางด้านเวลา
-  การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
-  การลำดับเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กัน
-  ฤดูกาล
ทักษะการคิด
-  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5
-  การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
-  ความคิดสร้างสรรค์
-  การคิดแก้ปัญหา
ทักษะการใช้ภาษา / การสื่อสาร
-  การฟัง
-  การพูด
-  การอ่าน
-  การเขียน
- ท่าทาง  สีหน้า  อารมณ์
การฟัง
-  ฟังคำสั่งเข้าใจ  ปฏิบัติตามได้  เช่น Sit down , Stan   up  เป็นต้น
-  ฟัง  เข้าใจความหมาย  สนทนาโต้ตอบได้  เช่น What  you  name ?  My name  is……..  What  is  this ? It’s a…….
What do  like ?  I  like  ……………
-  ร้องเพลง  เข้าใจความหมาย
การพูด
-  พูดสนทนาโต้ตอบ
-  บอกคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น  เกี่ยวกับอวัยวะ  เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้  เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต / ไม่มีชีวิต ฯลฯ
การอ่าน
-  อ่านคำศัพท์จากภาพ
-  อ่านตามตัวอย่าง
- อ่าน A-Z
การเขียน
-  เขียน  A-Z
-  เขียนชื่อตัวเอง
-  เขียนคำตามตัวอย่าง
- เขียนประโยคตามตัวอย่าง
ทักษะการสังเกต
- ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้ม กายสัมผัส
- เปรียบเทียบความเหมือนความต่างของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
- เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังของสิ่งต่างๆ
- จัดกลุ่มได้ตามเกณฑ์ง่ายๆ ที่กำหนดขึ้นเอง เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด น้ำหนัก
ทักษะการตั้งคำถาม
ตั้งคำถามจากสิ่งที่สังเกตหรือสงสัยได้อย่างสมเหตุสมผล
ทักษะการคาดเดาเหตุการณ์
คาดเดาคำตอบและคาดเดาได้อย่างสมเหตุผล มีความเป็นไปได้  ตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการทดลอง        
- เลือกใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายได้อย่างเหมาะสม
- ทดลองตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะเก็บข้อมูล
วาดภาพสรุปขั้นตอนการทดลองตามความเข้าใจของตนเองและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการสรุปผล
- พูดสนทนาโต้ตอบ / นำเสนอผ่านภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้